หลักการคุณภาพ
สำนักงานประกันคุณภาพนำหลักการคุณภาพต่อไปนี้คงไว้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพภายในของสำนักงานฯ และรวมถึงใช้เป็นแนวทางแก้ไขจุดอ่อนและแนวทางส่งเสริมจุดแข็งของการดำเนิน งานอีกด้วย
- ความมุ่งมั่นและการสนับสนุนของผู้ บริหาร(Management Commitment) โดยผู้บริหารกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการประกันคุณภาพขององค์กร เพื่อแสดงทิศทางและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
- ยึดผู้รับบริการเป็นสำคัญ (Customer Focus) การดำเนินงานทุกอย่าง ต้องกระทำโดยยึดทั้งผู้รับบริการภายในและภายนอกเป็นสำคัญ
- ความตระหนักต่อการพัฒนาคุณภาพและการมีส่วนร่วมของบุคลากร (Quality Awareness and Participation) บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันระบบประกันคุณภาพ จึงต้องพัฒนาให้บุคลากรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดตระหนักถึงความจำเป็นในการประกันคุณภาพอันส่งผลต่อความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมอย่างจริง จัง
- ขจัดความเสี่ยงและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Risk Management and Continuous Quality Improvement ) ขจัดความเสี่ยง แก้ไขความผิดพลาดและพัฒนากระบวนการทำงานด้วยวงจรคุณภาพ PDCA-PaR ของทุกภารกิจอย่างต่อเนื่อง และเคร่งครัด
- พัฒนาบุคลากร (Training) ให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ จัดหลักสูตรหรือโครงการพัฒนาบุคลากรให้บุคลากรมีความรู้เรื่องการพัฒนา คุณภาพเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
- ใช้เครื่องมือคุณภาพ การวิจัย และเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงาน (Quality Tools,Research and Technology) เครื่องมือคุณภาพช่วยให้ผู้ปฏิบัติตัดสินใจได้จากข้อมูล (Data) ที่ได้แปลเป็นข่าวสารแล้ว (Information) และใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน รวมถึงมีการวิจัยเพื่อติดตามการพัฒนาคุณภาพ และเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไปในอนาคต
- มีมาตรฐาน หรือตัวบ่งชี้คุณภาพ (Quality Criteria) กำหนดดัชนี/ตัวบ่งชี้ที่ระบุว่างานที่กำลังดำเนินการอยู่มีคุณภาพทั้งเชิงโครงสร้าง ตัวป้อนเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยกำหนดให้ระบบประกันคุณภาพภายในครอบระบบประกันคุณภาพภายนอกไว้
- โปร่งใส ตรวจสอบได้ ผู้รับบริการพอใจ สังคมพอใจ (Transparency, Accountability and Satisfaction) ต้องโปร่งใส มีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เป็นเอกสาร สิ่งแวดล้อม หรือบุคคลก็ได้ (ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเอกสารเท่านั้น)
- ประโยชน์ สูงประหยัดสุด (Cost Effectiveness) การดำเนินงานทุกอย่างต้อง มุ่งจัดการให้ใช้ทรัพยากร คน เงิน และ เวลา รวมถึงอารมณ์ให้น้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์สูงสุด โดยภาพรวมขององค์กรนั้นๆ
- ขจัดความกลัวให้หมดไป (Drive Out of Fear) ความกังวล ความกลัวจากการพัฒนาระบบประกันคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา และการดำเนินงาน จึงต้องขจัดให้หมดไปด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้บุคลากรมีความรู้หรือค่อยๆ ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือมีหน่วยงานนำร่องเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นต่อไป เป็นต้น
- มีการสร้างทายาท (Substitute Leadership) การดำเนินงานคุณภาพต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) การสร้างทายาทโดยมีผู้แทนที่จะรับช่วงงานต่อทำให้ระบบมีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่องไม่สะดุด สู่การพัฒนายั่งยืน (Sustainable Quality)
ระบบคุณภาพ
ระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาขึ้นด้วยเงื่อนไขของเวลาและบริบทของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนา ส่วนประกอบของระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
- นโยบาย เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการคุณภาพ
- ผู้รับผิดชอบ
- ตัวบ่งชี้คุณภาพ โดยยึด 9 องค์ประกอบตามสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และอีก 2 องค์ประกอบที่บริบทมหาวิทยาลัย รวมแล้วเป็น 11 องค์ประกอบ
- การพัฒนาบุคลากรด้านคุณภาพเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพ และสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการพัฒนามาใช้พัฒนาตนเองและงานได้
- การประเมินคุณภาพภายใน
- การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR:Self Assessment Report) ซึ่งต้องจัดทำทุกปี โดยยึดว่าองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเงิน งบประมาณ รายงานเป็นปีงบประมาณ ซึ่งใช้ปีงบประมาณปีเดียวกับปีการศึกษา (1 ต.ค. 25xx-1 – 30 ก.ย. 25xx) ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ รายงานเป็นปีการศึกษา (1 มิ.ย. 25xx – 31 พ.ค. 25xx+1)
- การประเมินคุณภาพภายใน
- การนำผลการประเมินคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น
- การประเมินคุณภาพภายนอก ระบบประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วยระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก โดยให้ระบบประกันคุณภาพภายนอกเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน
วันที่อัฟโหลดความเป็นมา2017-03-02 13:09:27